บทความ
ประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำประดับศาสนสถาน สมัยทวาราวดี พบที่เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี
งานปูนปั้นนั้น มีความหมายหมายถึง ลวดลายหรือภาพที่เกิดจากการปั้นปูนเพื่อให้เป็นลวดลาย รูปภาพ และรูปทรง เพื่อใช้ในการประดับตกแต่ง ตลอดจนทำเป็นส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรม ถือเป็นงานทางศิลปกรรมของช่างไทยที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่ปรากฏมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ปรากฏหลักฐานว่ามีมาแล้วตั้งแต่สมัยทวาราวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ โดยได้พบงานปูนปั้นประดับศาสนสถานต่างๆ ซึ่งมีทั้งที่เป็นลวดลายประติมากรรมรูปพระพุทธรูป เทวดา และบุคคลในบริเวณเมืองโบราณสำคัญๆ ของภาคกลาง เช่น เมืองนครปฐม เมืองลพบุรี เมืองคูบัว ที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี เมืองอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และเมืองมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี Continue reading
ฉัตร เป็นเครื่องสูงสำหรับแขวน ปัก ตั้ง หรือเชิญเข้ากระบวนแห่เพื่อเป็นเกียรติยศ ฉัตรมีรูปร่างคล้ายร่มที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ฉัตรถือเป็นของสูง เปรียบเสมือนสวรรค์ซึ่งเป็นศูนย์รวมจักรวาล
ประเภทของฉัตร
ฉัตรแขวนหรือปัก
เป็นเครื่องแสดงพระอิสริยยศของผู้ทรงฉัตร แยกเป็น 4 ชนิดคือ Continue reading